23.3.53

เมื่อดอกไม้บานใต้โลก

ครั้งที 2 ของกิจกรรมชวนเพื่อนอ่านหนังสือ กับกิจกรรม Book Brief ของห้องสมุด The Library Café ณ BPK จากครั้งแรกได้ชวนเพื่อนๆ อ่าน The Last Lecture ของแลนดี เพาซ์ กับคำถามที่ว่า ถ้าพรุ่งนี้เรากำลังจะตาย วันนี้ ตอนนี้ เราจะทำอะไร

มาถึงวันนี้กับ ดอกไม้ใต้โลก เรื่องเบาๆ น่ารักๆ ที่หลายคนอาจคิดว่าไม่น่าจะมีได้กับเรื่องการอนุรักษ์และดูแลสิ่งแวดล้อม แต่ทรงกลดเค้าทำให้ภาพของการจัดการเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องสนุกและมีคนมาร่วมกิจกรรมมากมาย แถมคนเหล่านั้นยังพร้อมจะติดตามความคืบหน้ากิจกรรมดีๆ ภายใต้ลายเซ็นนาม “ทรงกลด” กำกับการแสดง ก็เหตุเพราะแต่ละกิจกรรมนั้นล้วนแล้วแต่มีความน่ารักผสมอยู่ทั้งสิ้น

หลังจากแนะนำตัวกับคนกันเอง(ท้างน้าน) เรียบร้อยแล้ว ก็มาดูหน้าตาของปกหนังสือกัน ต้นไม้ใต้โลกเป็นแบบนี้ ประชันกันกับดอกไม้ใต้โลกเลย อิอิ ต้นไม้ใต้โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2550 โดยรวมเรื่องราวดีๆ ของนักบำรุงโลก(ทรงกลดเรียก) ไว้ 100 เรื่อง จำได้ว่ามีคำคมและเรื่องแปลกใหม่หลายอย่างที่ไม่เคยได้ยินเพียบ อย่างเช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยบอกไว้ว่า “ถ้าคุณยังอธิบายมันได้อย่างง่ายๆ แสดงว่าคุณยังไม่เข้าใจมันดีพอ” / เทียนไขไม่ได้สูญเสียอะไรเลย เมื่อมันต่อแสงสว่างให้เทียนเล่มอื่น บาทหลวงเจมส์ เคลเลอร์ / ความเมตตา คือภาษาที่คนหูหนวกได้ยิน และคนตาบอดมองเห็นได้ / หรือที่มีอยู่ช่วงนึงที่พวกเราใช้ Google Black ที่มีหน้าจอเป็นสีดำ เพราะช่วยประหยัดไฟให้โลกได้ ก็ได้บรรจุอยู่ในเล่มนี้เช่นกัน

แล้วอีก 2 ปีต่อมา ดอกไม้ใต้โลกก็คลานตามพี่มาติดๆ และไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ใต้โลกหรือดอกไม้ใต้โลก ก็ล้วนเป็นหนังสือที่ทรงกลดบรรจงเขียนและเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้หลายๆ ด้าน เพื่อนำมาเผยแพร่ในแง่มุมที่น่ารัก หลายเรื่องอ่านแล้วก็ชื่นชอบ ชอบเพราะมันน่ารักดี และก็ยังคิดๆ ว่ามีคนทำแบบนี้ด้วยเหรอ อืมม.. แต่ใครจะไปรู้ วันดีคืนดีพวกเรา(ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้) อาจเกิดแรงบันดาลใจดีๆ ในการคิดทำอะไรใหม่ๆ หรือสร้างสรรค์อะไรดีๆ เพื่อช่วยประหยัดพลังงานให้โลกใบนี้บ้างก็ได้ เพราะเชื่อว่าหนังสือทุกเล่มมีพลังด้านบวกที่ช่วยจุดประกายไฟและความคิดให้ทุกคนที่ได้อ่านมันได้

มารู้จักทรงกลดกันหน่อยนะคะ ทรงกลด บางยี่ขัน จบป.ตรีและโทด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เค้ามีเวปไซต์เครือข่ายต้นไม้ขี้เหงา ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากเขียนหนังสือ ต้นไม้ใต้โลกแล้วเกิดแรงบันดาลใจอยากสร้างชุมชนออนไลน์บอกเล่าเรื่องราว แล้วพากันไปทำอะไรดีๆ เวปนี้จึงปรากฎกิจกรรมชวนกันไปทำนั่นนี่เพื่อสิ่งแวดล้อมอยู่เรื่อยๆ ทรงกลดเป็นนักอนุรักษ์รุ่นใหม่ไฟแรง ที่ดูเหมือนจะเป็นกำลังสำคัญในการทำเรื่องสิ่งแวดล้อมที่แสนจะน่าเบื่อหน่ายให้กลายเป็นเรื่องสนุกด้วย เพราะจากที่จุ๊บเข้าไปดูในเวปไซต์ ผู้ร่วมอุดมการณ์ล้วนแต่เป็นเด็กวัยรุ่น คนวัยทำงาน ติดตามผลงานและตามไปทำกิจกรรมกับเค้าเพียบ อาจจะเป็นเพราะทรงกลดทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เลยทำให้เค้าค่อนข้างอารมณ์ดี ความอารมณ์ดีจึงแสดงออกอย่างออกนอกหน้ามาทางหน้าหนังสือ ทั้งแนวคิดที่แปลกใหม่ และการเล่นคำ กัดนิดกัดหน่อย เหมือนแหย่เล่น เลยทำให้หนังสือน่าอ่านกันไป

ตัวเราเองก็อ่านแม้กระทั่งคำนำของเค้าในฐานะ บก.ของ aday เพราะซื้อ aday ทุกเล่ม ก่อนอ่านเนื้อหาด้านในก็ต้องอ่านคำนำของเค้าก่อน ชอบที่มันเหมือนจะไม่มีอะไรเมื่อดูผ่านๆ แต่ถ้ามองและอ่านดูดีๆ ทรงกลดจะมีแนวคิดและมุมมองดีๆ แถมไว้ให้เสมอ ทรงกลดอยู่ในกลุ่ม “โยนหินถามทาง” เพื่อจัดการเดินทางในแนวที่เรียกกันเองว่า Neo Ecotourism โดยเริ่มกันตั้งแต่ปี 2542 ในชื่อ หอมกลิ่นดวงดาว และทริปสุดท้ายเมื่อปี 2547 ในชื่อ “ว่าวแม่นบ่” การเดินทางกับเพื่อนๆ กลุ่มโยนหินถามทางนี้ ยังไม่นับที่เค้าไปกับเพื่อนคนอื่น ซึ่งก็ได้รวบรวมเป็นบันทึกการเดินทางไว้อย่างน่าอ่านเหมือนกัน เช่น สองเงาในเกาหลี, หน่อไม้, ดาวหางเหนือทางรถไฟ

ผลงานรวมเล่มของทรงกลดก็มี นายเท้าซ้ายเด็กชายเท้าขวา, นั่งฝั่งตะวันตื่นยืนฝั่งตะวันตก, เมฆ, หมอก ใครเริ่มสนใจผู้เขียนตะหงิดๆ ก็เข้าไปเยี่ยมชมเวปไซต์ของเค้าได้ที่
www.lonelytrees.net ค่ะ

ยกตัวอย่างไว้ 7 เรื่อง แต่จากเวลาที่พี่เอ๋จัดไว้ให้ คงไม่เพียงพอจะสาธยายได้หมด จึงให้เพื่อนๆ เลือกเรื่องที่อยากฟัง จากชื่อเรื่องที่ปรากฏ สรุปว่า เรื่องแรกก็คือ


ชะงักชะงัด เรื่องนี้ค่อนข้างเกี่ยวโยง เกี่ยวพันกับพวกเราเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อคราวหมอก้องพบประชาชนคราวก่อน หมอก้องได้พูดให้เข้าใจถึงการใช้ทิชชู่อย่างระเนระนาดขององค์กรเรา และที่หมอก้องเหน็บไว้อย่างน่ารักก็คือ มีอยู่แค่ 2 นิ้ว ทำไมถึงสาวกันไปเยอะขนาดนั้น เพราะผลจากการสาวเอาสาวเอาของพวกเรา ทำให้ค่าทิชชู่ต่อเดือนเป็นเงินจำนวนมหาศาล ตอนนี้ห้องน้ำหญิงจึงมีผืนผ้าแทนกล่องทิชชู่เช็ดมือผืนเหลี่ยมที่หลายคนดึงเอาดึงเอาอย่างไม่คิดชีวิต นี่ก็ถือเป็นวิธีแก้ไขและลดค่าใช้จ่ายสำหรับทรัพยากรที่แสนจะฟุ่มเฟือยอีกทางหนึ่งขององค์กรเรา

ทรงกลดเขียนไว้ว่า เรามักจะใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่เบาไม้เบามือ ใช้น้อยก็กลัวไม่คุ้มเพราะรู้สึกว่ามันคือของฟรี ถ้าไม่ใช้เดี๋ยวคนอื่นก็ใช้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าชาวบีพีเคจะไม่เคยคิดอะไรที่มักง่ายแบบนี้เนาะ ของฟรีไม่มีในโลกก็จริงอยู่ แต่ทรัพยากรที่เราใช้กันโดยคิดว่ามันฟรีนั้น ท้ายที่สุดแล้วเราจะต้องกลับมาเป็นผู้จ่าย เพียงแต่ไม่รู้ว่ามันจะอยู่ในรูปแบบไหนก็เท่านั้นเอง

เอเจนซี่โฆษณาของเดนมาร์ก เลยคิดไอเดียสนุกๆ โดยออกแบบกล่องทิชชู่ติดผนังในห้องน้ำด้วยการเจาะช่องด้านหน้าให้เป็นพลาสติกใสรูปแผนที่ทวีปแอฟริกา แล้วก็เลือกใช้กระดาษทิชชู่สีเขียว ในยามที่ทิชชู่ยังเต็มกล่องดี ทวีปแอฟริกาก็จะเป็นสีเขียวทั้งหมด แต่ยิ่งดึงไปใช้มากเท่าไหร่ จำนวนทิชชู่ที่ลดลงก็จะทำให้พื้นที่สีเขียวหายไปจากทวีปแอฟริกามากขึ้นเท่านั้น อันนี้เป็นสถานการณ์ที่เห็นภาพกันต่อหน้าต่อตา ใช้มากพื้นที่สีเขียวก็ยิ่งหายไปมาก

การอนุรักษ์ไม่ว่าในตำราไหนๆ ไม่ได้หมายถึง “การห้ามใช้” แต่ต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การรณรงค์เรื่องการใช้ทรัพยากรใกล้ตัวแบบนี้ บางครั้งเราก็ไม่ต้องการ “คำสั่ง” หรือ “คำขอร้อง” แต่เราต้องการ “เหตุผล” ในการทำมากกว่า เพราะถ้าเราเข้าใจและรู้สึกถึงเหตุผลนั้นได้ ใครกันจะไม่อยากช่วย


เรื่องที่ 2 น้องตุ๊กๆ กะปงขอมา
ถามถึงถุง

ทรงกลดบอกว่า เมื่อปัญหาอย่างที่เราเรียกกันแบบบ้านๆ ว่า “โลกร้อน” กระหน่ำเข้ามานั้น ชาวไทยก็เหมือนจะได้ถุงผ้าเป็นที่พึ่งทางใจ และแต่งตั้งให้มันเป็นฮีโร่

การสะพายถุงผ้าแต่มีถุงพลาสติกอยู่ในถุงผ้าเป็นกองไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น ถุงพลาสติกถูกมองว่าเป็นเด็กมีปัญหา เริ่มตั้งแต่กระบวนการการผลิตและความรกโลกของมันที่ย่อยสลายยากกว่าถุงกระดาษและใบตองอยู่หลายขุม

ถุงพลาสติกถูกสร้างมาให้คงทนมีอายุการใช้งานยาวนานหลายปี แต่มนุษย์เราเองที่ใช้มันในระยะสั้นเกินไป บางใบใช้ไปไม่กี่นาทีก็ทิ้ง และบางใบก็ไม่ถึงนาทีด้วยซ้ำ เหมือนถุงผ้าที่อายุยืน แต่ที่มาของมันก็ใช้พลังงานไปไม่ใช่น้อย ประเทศจีนกับออสเตรเลียตื่นตัวกับเรื่องนี้มาก หลังจากที่ติดอันดับเป็นประเทศที่ใช้ถุงพลาสติกมากในลำดับต้นๆ ของโลก ทรงกลดเล่าว่า ปี 2551-2552 สองประเทศนี้น่าจะงดใช้ถุงพลาสติไปได้มากโขแล้ว เพราะทางการเค้าตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จนกล้าออกกฎหมายมายับยั้งการใช้ถุงพลาสติกที่ทำร้ายโลก


ตามมาด้วยโกอ๊อด
เรียนท่านผู้ดมทุกท่าน

ตอนนี้เค้าเล่าถึงความสำคัญของกลิ่น ซึ่งมีการจัดนิทรรศการกลิ่นที่สูญพันธ์ไปแล้วจากโลก ด้วยความร่วมมือกันของนักทำน้ำหอม นักพฤกษศาสตร์ นักเคมี นักวิทยาศาสตร์จากองค์การนาซ่า พวกเขามองว่า ในโลกนี้ไม่มีกลิ่นที่หอมหรือเหม็น เพราะกลิ่นที่เราชอบ เพื่อนเราอาจจะไม่ชอบก็ได้

กลิ่นที่พวกเขาเลือกมานำเสนอต่อผู้ดม ก็ยกตัวอย่างเช่น กลิ่นเส้นผมของคลีโอพัตรา กลิ่นที่เกิดหลังจากปรมานูลูกแรกถูกทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมา กลิ่นของน้ำหอมที่พบในเรือไททานิค และยังมีการจัดหนังสือรวมกลิ่นเอาไว้ด้วย โดยเค้าได้รวบรวมเอากลิ่นของดอกไม้ที่สูญพันธ์ไปเมื่อร้อยกว่าปีก่อนมาจนถึงสูญหายไปเมื่อ 30 กว่าปีที่ผ่านมา กลิ่นเหล่านี้ถูกชุบชีวิตขึ้นมาใหม่โดยนักพฤกษศาสตร์ เริ่มจากการเสาะหารายชื่อ แล้วค่อยจำแนกดอกไม้ว่าสามารถนับญาติได้กับดอกไม้ในปัจจุบันชนิดไหนได้บ้าง จากนั้นก็ค่อยรวบรวมข้อมูลจากอดีต

การดมกลิ่นที่หายไป ไม่ได้ช่วยให้ดอกไม้ที่สูญพันธ์ไปฟื้นคืน แต่ประโยชน์ของมันอาจจะอยู่ที่ผู้ดมรู้จักสนใจในรายละเอียดรอบตัวมากขึ้น ใส่ใจถึงการมีอยู่ของเพื่อนร่วมโลกอีกมากมาย แล้วถึงตอนนั้น เมื่อกลิ่นใดกลิ่นหนึ่งต้องหายไป มันหมายถึงเราสูญเสียอะไร

สิ่งที่หายไปไม่ใช่แค่สายลม



และอีกเรื่องที่มติของห้อง 108-1009 เป็นเอกฉันท์ที่สุด มีการแชร์ประสบการณ์จากนักศึกษาพยาบาลอย่างพี่นายกับยุงดองเพื่อนรักว่า สมัยก่อน ต้องต้มกบแล้วลอกหนัง งัดเอากระดูกมาเรียน ตอนนั้นก็สงสาร แต่ก็ต้องทำ อย่างแมลงสาปก็ต้องเอามันมาทั้งตัวเป็นๆ ซึ่งแค่ฟัง เราก็ขนลุกเกรียวแว้วว
การผ่าหัวใจ หาใจ แต่ไม่เห็นใจ
พูดถึงนักเรียนชั้นม.5 คนนึงที่ลงทุนเปลี่ยนชื่อและนามสกุล เพียงเพื่อเรียกร้องการผ่าและชำแหละสัตว์เพื่อการศึกษา ซึ่งเธอเชื่อว่ามีโมเดล ร่างกายสัตว์ คอมพิวเตอร์เสมือนจริง และสื่ออื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ต้องฆ่าสัตว์ประมาณ 6 ล้านตัว เพื่อใช้ในห้องเรียน ลองเข้าไปดูที www.cutoutdissection.com

เธอชื่อ นางสาว คัทเอาท์ ดิสเซกชั่นดอทคอม


หนังสือเล่มนี้ เคยเป็นต้นไม้มาก่อน
พูดถึงเวปไซต์ที่ชวนคนอ่านมาปลูกต้นไม้ทดแทนการโค่นต้นไม้ เพื่อเอาไปทำหนังสือ ในอัตราส่วน ต้นไม้ 1 ต้น ต่อนหังสือที่เราอ่าน 1 เล่ม

ทรงกลดพูดไว้อย่างน่ารักว่า ในความเป็นจริง หนังสือ 1 เล่ม คงล่วงเกินชีวิตต้นไม้ไม่ถึง 1 ต้น แต่การ “ให้” มากกว่า “รับ” กับบางเรื่องนั้น ก็ไม่น่าจะนับว่าขาดทุน

วิธีที่เวปไซต์ Eco-Libris นำเสนอเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณต้นไม้ ไม่มีอะไรยุ่งยาก แค่ระบุจำนวนหนังสือที่อยากจะปลูกต้นไม้ทดแทน จากนั้นก็คลิกชำระเงินผ่านบัตรเครดิต สนนราคาหนังสือ 1 เล่ม หรือต้นไม้ 1 ต้น เท่ากับ 1 เหรียญสหรัฐฯ แล้วทีมงานก็จะประสานงานไปยังองค์กรท้องถิ่นที่ทำงานด้านการปลูกป่าอยู่ที่นิการากัว เบลีซ กัวเตมาลา และอีกหลายแห่ง เพื่อให้นำต้นไม้ไปลงในพื้นที่ซึ่งจะเกิดเป็นประโยชน์ทั้งต่อธรรมชาติและชาวบ้าน

Eco-Libris ประกาศตัวชัดเจนว่าไม่ใช่องค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอ แต่เป็นหน่วยงานธุรกิจที่หวังผลกำไร แต่ก็เป็นธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พวกเขายืนยันว่าต้นไม้ที่เราปลูกจะเติบโตอย่างแน่นอน เพราะถ้าเราต้องการปลูก 10 ต้น เขาจะปลูกให้ 13 ต้น เพื่อรับประกันว่า หากมันจะล้มหายตายไปบ้าง ท้ายที่สุดก็ยังจะได้จำนวนถูกต้องครบถ้วนตามที่ตกลงกันไว้

หลังจากชำระเงินค่าปลูกต้นไม้แล้ว ก็จะได้รับสติกเกอร์จาก ซึ่งเป็นกระดาษรีไซเคิล มีข้อความว่า One tree was planted for this book เพื่อนำมาแปะบนหนังสือของเรา โดยเขาจัดส่งให้ทุกที่ไม่ว่าจะอยู่มุมใดของโลกด้วย

ทุกๆ ท้ายเรื่อง ทรงกลดจะหนีบเวปไซต์เจ้าของเรื่องนั้นๆ เอาไว้ด้วย ใครอยากสานต่อความผูกพัน ก็เชิญแวะเข้าไปเยี่ยมชมได้ สำหรับหนังสือเล่มนี้ ไม่เพียงแต่ให้ความเพลิดเพลินและเปิดโลกกว้างให้พวกเราเท่านั้น แต่มันยังสร้างแรงบันดาลใจดีๆ ในการกล้าคิดกล้าทำ และเปลี่ยนมุมมองจากการมองเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องน่าเบื่อหรือเรื่องสิวๆ ให้กลายเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรหมั่นรักษาไว้อย่างดีด้วย


แถมท้ายด้วยเรื่อง
ของปลอมของจริง
ทรงกลดบอกว่า คนไหนตัวจริง ตัวปลอม เราไม่ต้องเปลืองน้ำลายเถียงกันให้เหนื่อย เพียงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของปฏิทินและนาฬิกา วันและเวลาก็จะบอกเราเองว่าใครคือตัวจริง

ตัวปลอมนั้น พูดในสิ่งที่ตัวเองยังไม่ได้ทำ หรือยังทำไม่ได้
ส่วนตัวจริง ทำสำเร็จแล้วจึงค่อยพูด หรือไม่ก็ก้มหน้าก้มตาทำไปแบบไร้เสียง

ของปลอมในที่นี้หมายถึง Sex Toys หรือเครื่องเล่นทางเพศสำหรับสุภาพสตรี ที่ไม่ค่อยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและจุดซ่อนเร้นด้วย เพราะของเทียมประเภทแท่งนั้นส่วนใหญ่ทำจากวัสดุที่มีสารประกอบชื่อ พลาเลต ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ทำลายระบบสืบพันธ์และเป็นมลพิษต่อโลก

จึงมีเจ้าของกิจการนึงทำของเทียมรุ่นใหม่ออกมาโดยใช้แก้วเป็นวัสดุ ปลอดสารพทาเลต และยังสามารถนำแก้วมารีไซเคิลซ้ำได้อีก จึงลดปัญหาขยะตกค้างไปได้ ทรงกลดบอกว่า ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และไม่น่าจะเปลี่ยนโลกได้สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก็น่าจะปรับเปลี่ยนให้ตัวเองทำร้ายโลกน้อยลงได้ เพราะถ้าทำไม่ได้ก็อายไวเบรเตอร์

ตบท้ายทรงกลดหยอดไว้ว่า ของที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็น “ของปลอม” อาจจะเป็น “ของจริง” ก็ได้

รู้สึกดีกับการ Book Brief ครั้งนี้อยู่เหมือนกัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคนคุ้นเคยกันทั้งนั้น ทำให้ลดความกดดันไปได้บ้าง แต่ก็ยังคงรักษาความตื่นเต้นมือเย็นไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ชอบที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และได้ฟังประสบการณ์ของสมาชิกแต่ละคน และสุดท้ายสำหรับสไลด์นี้ ที่เพื่อนๆ ร่วมกันคิดหนทางประหยัดให้แก่องค์กรอันเป็นที่รักของเรา ซึ่งก็ได้มา 3-4 วิธี 1.เอาน้ำล้างจาน น้ำที่ 2 หรือ 3 ไปรดน้ำต้นไม้ การันตีจากคุณศันศนีย์ ว่าต้นไม้ไม่ตาย แถมประหยัดน้ำได้อีกด้วย 2.เอาขวดใส่น้ำหย่อนไว้หลังถังชักโครก(แบบเก่า) จะช่วยประหยัดน้ำได้อีกทางหนึ่ง เหมือนกับขวดน้ำได้ทดแทนปริมาณน้ำจริงที่อาจจะใช้เกินความจำเป็นไปบ้างสำหรับการกดน้ำชะล้าง 1 ครั้ง อันนี้ก็คุณศันศนีย์อีกเหมือนกัน 3.โกอ๊อดบอกว่า ถุงขยะที่ใส่ถังขยะประจำโต๊ะของพวกเราแต่ละคนนั้น มันเปลือง เพราะแม่บ้านต้องเปลี่ยนถุงวัน ทำให้เพิ่มปริมาณขยะของโลก จึงแนะนำให้อ้ายชาย นำเสนอต่อที่ประชุมว่า มีถังขยะส่วนกลาง(ต่อ 1 แผนก) ไว้ทิ้งสิ่งของที่สกปรก ขนมนมเนยที่พวกเราขนเอามากิน ส่วนถังขยะที่โต๊ะก็ทิ้งเฉพาะกระดาษ และอื่นๆ ที่ไม่เลอะเทะ จะช่วยลดการเปลี่ยนถุงขยะของโรงพยาบาลฯ ไปได้มากโข อีกทั้งถุงขยะของพวกเรา Back Office นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นถุงชั้นดีและหนามาก(แพงไปไม่ดี) ใช้แบบราคาถูกๆ ก็พอแว้วว 4.ยกภาระให้อ้ายชายประสานงานกับแฟมมิลี่มาร์ท ที่พวกเราชาว BPK เดินเข้าเดินออกกันไม่หวาดไม่ไหว การปฏิเสธรับถุงหนึ่งครั้งแล้วได้แต้ม น่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของร้านและช่วยให้พวกเราได้แต้ม แถมได้ช่วยลดขยะให้โลกด้วย!! อืมม!! มีแต่เรื่องบรรเจิดท้างน้านนน ..
ไปดูบรรยากาศกัน >> http://picasaweb.google.com.au/jubjub.picc/BookBriefII#
ในโอกาสนี้ กราบขอบพระคุณพี่น้องทุกท่านที่ได้เข้ามาฟัง หรือได้เข้ามาอ่าน สำหรับหนังสือ "ดอกไม้ใต้โลก" ของกระผม ก็เนื้อหอม โดนพี่นาย(พยาบาลชุดยิ้มหวานคนนั้น) ยืมไปดื่มด่ำเสียแล้ว ในการนี้ หากมีสิ่งใด ขาดตก อกร่อง ข้าพเจ้าก็กราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้โตยเน้อ แล้วพบกันใหม่ ตัวกู ของกู ..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น